เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
มุมกฎหมาย : ข้างบ้านเสียงดังรบกวน รวมถึงงานก่อสร้างด้วย มีทางออกยังไง

                  เขาว่ากันว่าเพื่อนบ้านดี มีชัยไปกว่าครึ่ง นั้นอาจจะจริงเพราะเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการให้เกิด เเต่ถ้าหากไม่เป็นไปในทางที่ดีล่ะ เเละปัญหาที่น่าปวดหัว อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดจากเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงกันที่พบอยู่บ่อยครั้งนั้นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงคือ ปัญหาที่เกิดจากการส่งเสียงรบกวน การที่เอะอะเสียงดังโวยวาย เปิดเพลงเสียงดังจนรวมไปถึงการก่อสร้างต่อเติมที่เกิดเสียงดังรบกวนจนเกินควรที่จะเป็น




วันนี้เราจึงขอยกเคสของการรบกวนเรื่องเกี่ยวกับเสียงที่เกิดจากบ้านใกล้เรือนเคียงกันนี้มาหาคำตอบเเละวิธีเเก้ไขกันครับ


ในกรณีนี้หากเพื่อนบ้านบริเวณติดกันหรือใกล้เคียงส่งเสียงรบกวน เปิดเพลงเสียงดังเอะอะโวยวาย รวมไปถึงก่อสร้างต่อเติม จนเกิดเสียงดังรบกวนจนเกินไป --- ถือเป็นการส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียง หรือกระทำการอืออึงโดยไม่มีเหตุอันควร อาจมีคว่มผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 มีโทษปรับ 1000 บาท


เเต่ในกรณีที่เสียงดังเกินมาตรฐานอันควรจะเป็น คือเกิน 70 เดซิเบลขึ้นไปนั้น ตัวท่านเองสามารถไปร้องเรียนได้ที่ สำนักงานเขตหรืออำเภอในพื้นที่รับผิดชอบนั้นๆให้มาจัดการ โดยร้องเรียนไปที่ กรมควบคุมมลพิษ (มลพิษทางเสียง) ให้มาจัดการกรณีเสียงรบกวนจนเกินไป เพื่อมาจัดการดำเนินการให้คุณเพื่อนบ้านนั้นปรับปรุงเเก้ไขปัญหาเรื่องของเสียงให้ดีขึ้นหรือเบาลง เเต่หากเพื่อนบ้านยังคงดื้อดึงยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่เเล้วนั้น ท่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินทางกฏหมายต่อไป อาจจะถึงขั้นฟ้องละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421


“ โดยปกติแล้ว ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อนุญาตให้บุคคลสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ภายในขอบเขตแห่งกฎหมาย แต่หากการใช้สิทธิของตนนั้นมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของเขา ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ต้องเสียหายนั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421) “





                    สุดท้ายนี้ หากท่านเป็นผู้ที่ประสบพบเจอปัญหาตามที่กล่าวมานั้น ทางผู้เขียนไม่เเนะนำให้ท่านเเก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดปัญหาบานปลายหรืออาจเกิดการกระทบกระทั่งทางวาจากันเองได้ เราควรที่จะหาคนกลางในการเจรจา เช่น นิติบุคคลของหมู่บ้าน คอนโดฯของท่าน หรือ ผุ้นำในชุมชน ที่ท่านสังกัดอยู่ ให้เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน เเต่ถ้าคุณเพื่อนบ้านยังคงดื้อดึงไม่ปฏิบัติตาม ท่านเองก็สามารถร้องเจ้าหน้าตำรวจ หรือ กรมควบคุมมลพิษ ให้เข้ามาจัดการกับปัญหานี้ ตามเเต่เห็นสมควรครับ



#ข้างบ้านเสียงดังรบกวน
Share
5140