มุมกฎหมายและ สัญญาเกี่ยวกับงานช่าง
ประเด็นเรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับงานช่าง เป็นเรื่องที่มักเกิดคำถามกันอยู่เสมอ เนื่องจากในงานช่าง มักเป็นการทำงานร่วมกันและมีคนหลายฝ่ายที่ได้รับผลจากงาน ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมา ช่าง หรือแม้แต่บุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง สามารถได้รับผลกระทบจากการทำงาน เมื่อมีคนเกี่ยวพันหลายฝ่าย ย่อมเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาระหว่างกันขึ้น ทั้งในเรื่องความคาดหวังของเจ้าของบ้าน ที่ช่างหรือผู้รับเหมาทำงานส่งผิดพลาดเนื่องจากเข้าใจไม่ตรงกัน หรือการผิดข้อตกลงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งบ่อยครั้งความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหรือความผิดพลาดทำให้เกิดกรณีพิพาทนำไปสู่การหาทางออกด้วยกฏหมาย อย่างไรก็ตามบางครั้งไม่สามารถเรียกร้องหรือตกลงกันได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากความไม่เข้าใจในกฎหมาย หรือการทำ สัญญาจ้างผู้รับเหมา /ช่าง ที่ไม่ครบถ้วนหรือมาจากการทำงานไม่ตรงตามเงื่อนไขเพราะไม่เข้าใจขอบเขตความรับผิดชอบระหว่างกันใน สัญญาว่าจ้างเหมาก่อสร้าง ต่อเติมหรืออื่นๆไปจนถึงกรณีเป็นบุคลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการทำงานช่างเหล่านั้น
houzzMate เล็งเห็นในปัญหาด้าน กฎหมายและ สัญญาเกี่ยวกับงานช่าง ด้วยพันธกิจ "เราสร้างสังคมช่างคุณภาพด้วยเทคโนโลยี" เราจึงเพิ่มบริการด้านกฎหมายให้กับผู้ที่สนใจได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองในช่องทางออนไลน์ ผ่านบทความกฎหมายให้เป็นกรณีศึกษา หรือ สามารถเรียกใช้บริการความช่วยเหลือจากนักกฏหมายผู้มีประสบการณ์ ในการทำ สัญญาด้านงานช่าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำข้อตกลงระหว่างกันของท่านมีผลรองรับอย่างเหมาะสมทางกฎหมายและเป็นไปตามความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นธรรม
อัตราค่าบริการตรวจทานสัญญา
จำนวนหน้า ตรวจทาน ตรวจทาน+แก้ไข
1-5 หน้า 229 บาท 399 บาท
6 - 10 หน้า 599 บาท 799 บาท
10 หน้าขึ้นไป ติดต่อเจ้าหน้าที่

อัตราค่าบริการร่างสัญญารับเหมาและก่อสร้าง
ร่างสัญญา ติดต่อเจ้าหน้าที่

อัตราค่าบริการกรณีว่าความ
คดีแพ่ง ติดต่อเจ้าหน้าที่
คดีอาญา ติดต่อเจ้าหน้าที่
สนใจสามารถ ขอคำแนะนำจากนักกฎหมายได้
ดำเนินงานโดย อาจารย์ประจำภาควิชานิติศาสตร์ นักกฎหมาย และทนายความ ผู้มีประสบการณ์ด้านการทำนิติกรรมสัญญางานช่าง ให้บริการวิเคราะห์ตรวจทานแก้ไข และ ร่างสัญญางานช่าง รวมถึงให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
บทความด้านกฎหมาย
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
คำถามกับเรื่องสัญญารื้อถอนคำถาม-สัญญารื้อถอนเเละขอก่อสร้างชั่วคราวควรระบุขอบเขตของสัญญาอย่างไรบ้าง-ที่ราชพัสดุสัญญารื้อถอนต่างจากปกติหรือไม่-เช่าที่ดินคนรู้จัก(เช่าปากเปล่า)ตกลงกันเองว่าจะปลูกสิ่งก่อสร้าง(ร้านค้า)ในที่ดินเเละเมื่อจะย้ายจะทำการรื้อถอนยกไปปลูกที่ใหม่เเต่เมื่อจะย้ายจริงเจ้าของที่ไม่ให้รื้อเพราะอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างย่อมตกเป็นของเจ้าของที่ดินมีทางออกอย่างไร-เปิดร้านปลูกสิ่งก่อสร้างเเล้วโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินเเล้วร้านไปไม่รอดถูกยึดที่ดินเเต่จะขอรื้อถอนบางส่วนเพื่อไปปลูกใหม่สามารถทำได้ไหมเพราะตอนยื่นกู้ใช้เเค่ที่ดินเปล่ายื่นค้ำประกันเงินกู้-ถ้าหมดสัญญากเช่าคนเช่าไม่ยอมรื้อถอนอ้างว่ายกให้ผู้ให้เช่าดูเเลต่อไปเลยเจ้าของที่มีทางออกอย่างไร-จากหนังสือสัญญาที่ทำกับผู้ให้เช่ามีข้อหนึ่งระบุว่าสิ่งก่อสร้างหรือซ่อมแซมใดๆไม่สามารถรื้อถอนหรือทำลายได้ทั้งนี้สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นยอ่มตกเป็นของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นแต่ปรากฏว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าและผู้เช่าได้ย้ายออกแล้วผู้เช่าได้ทำการรื้อถอนแอร์ประตูเบรคเกอร์ไฟฟ้าอ่างล้างหน้าชักโครกหลอดไฟและโคมไฟต่างๆที่เป็นการตกแต่งและติดอยู่กับผนังของตัวบ้านเอาไปด้วยทั้งหมดรวมเป็นมูลค่ากว่า300,000บาทจนทำให้ผนังเเละฝ้าและกำแพงเป็นรูหลายจุดและสายไฟก็ถูกถอดห้อยเกะกะไว้จนใช้การไม่ได้และน้ำก็ใช้ไม่ได้ด้วยไม่ทราบว่าผู้เช่ามีสิทธิทำได้หรือไม่และผู้ให้เช่าจะทำการฟ้องร้องในทรัพย์สินนั้นได้หรือไม่เพราะสัญญาก็มีระบุไว้แล้วว่าห้ามรื้อถอนของนั้นให้ตกเป็นของผู้ให้เช่าแต่ผู้เช่าก็ยังทำอีกอีกอย่างหนึ่งก่อนหน้านี้ผู้เช่าได้ทำการทุบห้องนอนออกและก่อเป็นปูนค้างไว้โดยไม่ได้ขออนุญาติหลังจากนั้นก็บอกว่าเมื่อออกไปแล้วจะทำกลับให้เป็นเหมือนเดิมก็ยังไม่ได้ทำไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเพราะถ้าจะหักจากเงินประกันก็มีไว้น้อยกว่าค่าซ่อมเเซมทีมกฎหมายของhouzzMate ดำเนินงานโดยอาจารย์ประจำภาควิชานิติศาสตร์นักกฎหมายและทนายความผู้มีประสบการณ์ด้านการทำนิติกรรมสัญญางานช่างให้บริการวิเคราะห์ตรวจทานแก้ไขและร่างสัญญางานช่างรวมถึงให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
เปิดดู:1633
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
มุมกฎหมายปัญหาและข้อสงสัยที่มักพบในการจ้างงานที่มีช่างรับเหมาช่วงถามในมุมเจ้าของบ้านผู้ว่าจ้าง1.ในฐานะเจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้างการที่ผู้รับเหมาจะไปจ้างช่างรับเหมาช่วงมาทำงานให้นั้นเจ้าของบ้านจำเป็นต้องรับทราบหรือไม่และควรมีการทำสัญญาอย่างไรเพื่อให้ครอบคลุมการจ้างงานที่มีทั้งผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วง2.ในกรณีเกิดความผิดพลาดในงานที่ผู้รับเหมาช่วงเป็นคนดำเนินการ ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและหากถึงขั้นต้องฟ้องร้องเจ้าของบ้านควรจะต้องฟ้องร้องใครผู้รับเหมาหรือผู้รับเหมาช่วงถามในมุมผู้รับเหมา1.ในกรณีผู้รับเหมาช่วงไม่จ่ายเงินช่างในส่วนงานที่ตนรับงานไปตัวผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าจ้างช่างแทนด้วยหรือไม่2.ในกรณีผู้รับเหมาช่วงไม่ทำตามสัญญาผู้รับเหมาจะต้องทำอย่างไรถามในมุมผู้รับเหมาช่วง1.ในการรับเหมาช่วงงานควรทำสัญญากับผู้รับเหมาหลักหรือไม่2.ในกรณีทำงานรับเหมาช่วงแล้วผู้รับเหมาไม่ยอมจ่ายเงินสามารถไปเรียกร้องขอรับเงินจากเจ้าของบ้านแทนได้หรือไม่ทีมกฎหมายของhouzzMate ดำเนินงานโดยอาจารย์ประจำภาควิชานิติศาสตร์นักกฎหมายและทนายความผู้มีประสบการณ์ด้านการทำนิติกรรมสัญญางานช่างให้บริการวิเคราะห์ตรวจทานแก้ไขและร่างสัญญางานช่างรวมถึงให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
เปิดดู:928
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
      วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจที่หลายท่านสงสัยว่าตามหลักเเล้ว”เมื่อมีของเสียในห้องเช่าเจ้าของหรือคนเช่าที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทำการซ่อมแซมหรือหาช่างเข้ามาเเก้ไข“แน่นอนว่าหากเกิดการซ่อมแซมที่เกินความสามารถของผู้เช่าหรือเจ้าของหรือช่างประจำของสถานที่นั้นๆก็แน่นอนว่าต้องหาช่างเพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขซ่อมเเซมปัญหาที่เกิดขึ้น ตามที่ได้กล่าวมานี้ทางhouzzmateได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญได้ความว่าถ้าหากมีของเสียระหว่างเช่าผู้ให้เช่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของของใช้ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เช่าที่เกี่ยวกับห้องเช่านั้นเช่นแอร์พังห้องน้ำเสียน้ำรั่วท่อแตกไฟช็อตหลังคารั่วเป็นต้นซึ่งมีในตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา550เเละ547 แต่ในส่วนของการซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆผู้เช่าต้องเป็นคนซ่อมและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งนี้ตามมาตรา553กรณีการซ่อมแซมอย่างใหญ่กับซ่อมเล็กน้อยถ้าเราเทียบกันคือถ้าหากของใช้นั้นกระทบกับการใช้ชีวิตเพื่อความสะดวกในห้องเช่านั้นจะถือว่าเป็นการซ่อมใหญ่อย่างเช่นตัวอย่างที่ได้กล่าวมางานเล็กน้อยคือเช่นไฟขาดน็อตหลุดอะไรง่ายๆที่สามารถซ่อมเเซมให้ใช้ได้ดีดังเดิมโดยที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะด้านนั้นถือว่เป็นงานเล็กน้อยนั้นเองขยายส่วนเรื่องกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา550ซึ่งบัญญัติไว้ว่า“ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่าและผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้นเว้นแต่การซ่อมแซมชนิดซึ่งมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าผู้เช่าจะพึงต้องทำเอง”และมาตรา547บัญญัติไว้ว่า“ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเท่าใดผู้ให้เช่าจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย”ส่วนมาตรา553บัญญัติไว้ว่าผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่านั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองและต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย      ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของและผู้เช่าหรือแม้แต่ผู้ที่เป็นช่าง(ในกรณีมีการ หาช่างมาทำงานซ่อมแซม)ที่จะได้ทราบว่าฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายและหากท่านใดมีคำถามสามารถกรอกข้อความไว้ด้านท้ายของบทความนี้ได้ทางเราจะนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและนำมานำเสนอให้ท่านได้ทราบhouzzmateเรายินดีให้คำปรึกษาครับ
เปิดดู:1027
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
                 สวัสดีครับวันนี้รายการhouzzmatetoknowรอบรู้เรื่องช่างจะมาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ"สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง" ที่ปกติเราจะทำขึ้นระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้รับเหมาเพื่อเป็นข้อผูกมัดที่การก่อสร้างนั้นๆเเต่ในเอกสารสัญญาต่างๆควรมีหรือระบุอะไรลงไปบ้างเรามาดูกันครับรายละเอียดที่ควรมีในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง 1.วันที่และสถานที่ทำสัญญาเพื่อให้ทราบถึงวันที่สัญญาเริ่มมีผลบังคับอันจะส่งผลในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาและมีผลในทางกฎหมายหลายๆเรื่องเช่นคู่สัญญาจะพึงทราบได้ว่าสัญญาเริ่มต้นเมื่อใด วันนับระยะเวลารับประกันผลงานเริ่มแต่เมื่อใดรวมตลอดถึงการเริ่มนับอายุความในการฟ้องคดีหากวันหนึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการทางศาลส่วนสถานที่ทำสัญญานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาว่ามูลคดีเกิดที่ใดโดยหลักจะพิจารณาว่าสัญญาทำขึ้นที่ใด ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากข้อมูลในสัญญา2.ข้อมูลส่วนบุคคลคู่สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้าง(เจ้าของบ้าน)และผู้รับจ้าง(ผู้รับเหมาก่อสร้าง)ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่หน่วยงานและข้อมูลอื่นๆที่สามารถยืนยันตัวตนและตรวจสอบได้ข้อมูลส่วนนี้ควรระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สัญญาไว้ด้วยเพื่อความสะดวกและง่ายแก่การดำเนินการต่างๆทางกฎหมาย3.ขอบเขตและลักษณะของเนื้องานที่รับผิดชอบผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างผู้รับจ้างทำการก่อสร้างบ้านแบบไหนระบุลงในสัญญาให้ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นลักษณะของแบบบ้าน,สถานที่ที่ทำการก่อสร้าง4.ราคาและรายละเอียดการจ่ายงวดงาน-ค่าจ้างทั้งหมด,วิธีการชำระค่าจ้าง,วันถึงกำหนดชำระค่าจ้าง-ข้อตกลงในการชำระค่าจ้างควรระบุให้สัมพันธ์กับการส่งมอบงานโดยควรแบ่งการส่งมอบงานเป็นงวดๆโดยกำหนดความแล้วเสร็จของงานเป็นส่วนๆและให้ผู้รับจ้างมีหน้าที่ส่งมอบงานเป็นงวดๆตามส่วนงานที่แล้วเสร็จนั้นฉันใดกลับกันก็ฉันนั้นผู้ว่าจ้างก็ต้องชำระราคาค่าจ้างตามงวดงานที่แล้วเสร็จเป็นงวดๆนั้นเช่นกันเพื่อความสะดวกในการตวจสอบและติดตามงานและการชำระค่าจ้างของคู่สัญญา-ข้อมูลเกี่ยวกับงวดงานและการชำระค่าจ้างที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้นั้นควรระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่างวดใดเป็นการส่งมอบงานเมื่อแล้วเสร็จถึงขั้นตอนใดผู้ว่าจ้างต้องชำระราคาเท่าใด5.ระยะเวลาของสัญญาตั้งแต่เริ่มดำเนินการก่อสร้างจนดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใช้ระยะเวลาการก่อสร้างโดยประมาณกี่เดือน6.หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง(เจ้าของบ้าน)ควรมีรายละเอียดกำกับไว้อย่างชัดเจนในสัญญาว่าจ้างเช่น-สิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับลดรายการและแบบก่อสร้างเดิมหรือปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนดที่ตกลงกันไว้โดยไม่ต้องยกเลิกสัญญาว่าจ้างแต่ควรทำการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรและมีความตกลงยินยอมกันทั้ง2ฝ่ายทั้งนี้ควรตกลงถึงเงื่อนไขที่จะตกลงให้แก้ไขงานกันให้ชัดเจน-ข้อตกลงเรื่องชนิดปริมาณขนาดและคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการทำงานตามสัญญา-ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์สั่งหยุดงานหากเห็นว่ามีการดำเนินการไม่ถูกต้องตามแบบแปลนหรือมีสิทธิระงับและไม่จ่ายค่างวดงานในส่วนดังกล่าวหากผู้รับเหมาไม่ทำการแก้ไขหรือซ่อมแซมในส่วนที่เสียหายที่ไม่เป็นไปตามที่แจ้งให้แก้ไข7.หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง(ผู้รับเหมาก่อสร้าง)-ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้ถูกต้องและแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในระยะเวลาที่กำหนด-ข้อตกลงเรื่องความยินยอมให้ผู้รับจ้างการแบ่งงานหรือมอบหมายงานให้บุคคลอื่นทำงานคู่สัญญาควรพิจารณาและตกลงกันให้ชัดเจนว่าผู้ว่าจ้างยินดีที่จะให้ผู้รับจ้างโอนงานหรือแบ่งงานที่ได้รับจ้างให้แก่บุคคลอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าผู้ว่าจ้างให้ความสำคัญกับคุณสมบัติหรือความสามมารถเฉพาะตัวของตัวผู้รับจ้างเพียงใด หากคุณสมบัติหรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้รับจ้างเป็นสาระสำคัญของการจ้างงานครั้งนี้ก็ควรระบุในสัญญาให้ชัดเจนถึงข้อกำหนดในการห้ามมิให้แบ่งงานหรือโอนงานแก่ผู้อื่นแต่หากผู้ว่าจ้างยินดีให้ผู้รับจ้างแบ่งงานหรือส่งมอบงานให้ผู้อื่นทำก็ควรระบุไว้แต่ควรมีข้อความให้ผู้รับจ้างยังคงเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดตามระบุในสัญญา-หากมีการเพิ่มเติมหรือลดงานส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่เป็นไปตามแบบผู้รับจ้างจะต้องทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ว่าจ้างรับทราบ-ผู้รับจ้างจะต้องทำการยินยอมให้ตัวแทนของเจ้าของบ้านหรือเจ้าของบ้านทำการตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างสถานที่และขั้นตอนในการก่อสร้างเพื่อตรวจประเมินผลงานตรงตามแบบแปลนและBOQหรือไม่8.เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะได้มีคุณภาพเหมาะสมกับลักษณะงานควรมีเอกสารรายการระบุแนบท้ายเอกสารเพื่อใช้ในการตรวจสอบ9.การประกันคุณภาพผลงานหลังจากการับส่งมอบงานโดยระยะเวลาประกันงานขึ้นอยู่กับประเภทงานและการเจรจาโดยส่วนใหญ่อยู่ที่1-5ปีซึ่งหากเกิดความเสียหายเกิดขึ้นกับตัวบ้านในระยะเวลาเอาประกันไม่ว่าจะเป็นหลังคารั่วบ้านมีรอยแตกร้าวหรือสาเหตุอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติผู้รับจ้างตกลงทำการแก้ไขซ่อมแซ่มให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานดังเดิม10.การยกเลิกสัญญาคู่สัญญาควรร่วมกันคิดและระบุถึงข้อตกลงต่างในในการจำกัดความรับผิดของแต่ละฝ่ายเท่าที่เป็นธรรมและไม่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายเช่นข้อจำกัดความรับผิดในการส่งมอบงานล่าช้าเพราะเกิดภัยธรรมชาติ,ข้อจำกัดความรับผิดอื่นๆที่อาจมีขึ้นตามสภาพของงานที่จ้าง -การยกเลิกสัญญาว่าจ้างและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายควรทำการระบุให้ชัดเจน11.การลงนามตกลงเซ็นสัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้างจะประกอบไปด้วย-ผู้ว่าจ้าง(เจ้าของบ้าน)-ผู้รับจ้าง(ผู้รับเหมาก่อสร้าง)-พยานทั้งหมดนี้คือข้อหลักๆที่ควรจะระบุมีในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้ครบถ้วนส่วนหากมีข้อเพิ่มเติมหรืออะไรเป็นพิเศษควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายก่อนจะระบุหรือทำข้อตกลงกันด้วยนะครับ
เปิดดู:1227
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
         เขาว่ากันว่าเพื่อนบ้านดีมีชัยไปกว่าครึ่งนั้นอาจจะจริงเพราะเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการให้เกิดเเต่ถ้าหากไม่เป็นไปในทางที่ดีล่ะเเละปัญหาที่น่าปวดหัวอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดจากเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงกันที่พบอยู่บ่อยครั้งนั้นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงคือปัญหาที่เกิดจากการส่งเสียงรบกวนการที่เอะอะเสียงดังโวยวายเปิดเพลงเสียงดังจนรวมไปถึงการก่อสร้างต่อเติมที่เกิดเสียงดังรบกวนจนเกินควรที่จะเป็นวันนี้เราจึงขอยกเคสของการรบกวนเรื่องเกี่ยวกับเสียงที่เกิดจากบ้านใกล้เรือนเคียงกันนี้มาหาคำตอบเเละวิธีเเก้ไขกันครับในกรณีนี้หากเพื่อนบ้านบริเวณติดกันหรือใกล้เคียงส่งเสียงรบกวนเปิดเพลงเสียงดังเอะอะโวยวายรวมไปถึงก่อสร้างต่อเติมจนเกิดเสียงดังรบกวนจนเกินไป---ถือเป็นการส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงหรือกระทำการอืออึงโดยไม่มีเหตุอันควรอาจมีคว่มผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา370มีโทษปรับ1000บาทเเต่ในกรณีที่เสียงดังเกินมาตรฐานอันควรจะเป็นคือเกิน70เดซิเบลขึ้นไปนั้นตัวท่านเองสามารถไปร้องเรียนได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอในพื้นที่รับผิดชอบนั้นๆให้มาจัดการโดยร้องเรียนไปที่กรมควบคุมมลพิษ(มลพิษทางเสียง)ให้มาจัดการกรณีเสียงรบกวนจนเกินไปเพื่อมาจัดการดำเนินการให้คุณเพื่อนบ้านนั้นปรับปรุงเเก้ไขปัญหาเรื่องของเสียงให้ดีขึ้นหรือเบาลงเเต่หากเพื่อนบ้านยังคงดื้อดึงยังไม่มีการจัดการที่ดีพอไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่เเล้วนั้นท่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินทางกฏหมายต่อไปอาจจะถึงขั้นฟ้องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420และ421“โดยปกติแล้วตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อนุญาตให้บุคคลสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ภายในขอบเขตแห่งกฎหมายแต่หากการใช้สิทธิของตนนั้นมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิตร่างกายอนามัยเสรีภาพทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของเขาถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ต้องเสียหายนั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420และ421)“          สุดท้ายนี้หากท่านเป็นผู้ที่ประสบพบเจอปัญหาตามที่กล่าวมานั้นทางผู้เขียนไม่เเนะนำให้ท่านเเก้ปัญหาด้วยตัวเองเพราะอาจเกิดปัญหาบานปลายหรืออาจเกิดการกระทบกระทั่งทางวาจากันเองได้เราควรที่จะหาคนกลางในการเจรจาเช่นนิติบุคคลของหมู่บ้านคอนโดฯของท่านหรือผุ้นำในชุมชนที่ท่านสังกัดอยู่ให้เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนเเต่ถ้าคุณเพื่อนบ้านยังคงดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามท่านเองก็สามารถร้องเจ้าหน้าตำรวจหรือกรมควบคุมมลพิษให้เข้ามาจัดการกับปัญหานี้ตามเเต่เห็นสมควรครับ
เปิดดู:5153
เจมส์ HM
2 ปีที่แล้ว
วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องกิ่งไม้รากไม้ของเพื่อนบ้านเลื้อยมาซอนไซหรือรุกเขตของเราทำให้เกิดความเสียหายซึ่งเป็นประเด็นเเละข้อถกเถียงกันเป็นจำนวนมากวันนี้เราจะมาเเก้ปัญหากันนะครับซึ่งเกี่ยวเนื่องกับทางประมวลกฎหมายกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์มาตรา1347ได้วางหลักเอาไว้ว่าหากเป็นกรณีของรากไม้ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตเจ้าของที่ดินที่ติดต่อนั้นสามารถทำการถอนหรือตัดได้โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตเพราะถือว่ารากไม้ทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านเเละทรัพย์สินจึงทำการได้เองเลยไม่ต้องขออนุญาตก่อนเเต่หากเป็นกรณีของกิ่งไม้ที่รุกล้ำเข้ามานั้นต้องทำการบอกกล่าวเจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้ล้ำเข้ามาให้มาทำการตัดเเต่หากฝ่ายนั้นนิ่งเฉยเราจึงเกิดสิทธิ์ที่จะตัดได้ส่วนกรณีที่หากว่าเราไม่บอกกล่าวเเล้วทำการตัดโดยพละการนั้นทางผู้ตัดอาจจะเข้าข่ายความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา358ได้วางหลักไว้ว่า“ผู้ใดทำให้เสียหายทำลายทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ“ เเต่หากเป็นกรณีที่เราเเจ้งกับทางเพื่อนบ้านเเล้วว่ายังนิ่งเฉยจนกิ่งไม้รุกล้ำเเละหักตกลงมาทำให้ความเสียหายเเล้วน้ันอาจเข้าข่ายความผิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ที่วางหลักไว้ว่า“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดีแก่ร่างกายก็ดีอนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น“ เเต่กรณีไกล่เกลี่ยไม่ลงตัวเเจ้งได้ที่ไหนนั้นควรไปเเจ้งที่เขตเป็นอันดับเเรกก่อนทางเขตจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูเเลไกล่เกลี่ยกรณีข้อพิพาทให้หรืออาจจะปรึกษานักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายเพื่อเรียกร้องตามสิทธิ์หรือถูกรอนสิทธิ์ตามเเต่กรณีๆไปครับเเต่ในทุกๆกรณีที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นทางผู้เขียนหวังว่าอยากให้จบที่ทั้ง2ฝ่ายจับมือนั่งคุยปรึกษาหารือเเนวทางเเก้ไขต่างๆร่วมกันอย่างเพื่อนบ้านที่ดีก็จะไม่เกิดการฟ้องการร้องขึ้นโรงขึ้นศาลตามมาได้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันนะครับ
เปิดดู:873